Archive for Uncategorized

เคล็ดไม่ลับ 5 วิธีการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

ปัจจุบันการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเลือกผักและผลไม้ที่มีสีต่างๆกัน ทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารแลพไฟโตเคมิคัลที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิแดนท์ เช่น ไลโคฟีนในมะเขือเทศ แคโรทีนอยด์ในแครอท และคลอโรฟิลด์ในผักใบเขียว สารออกซิแดนท์เป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยและการเกิดโรคภัยต่างๆ ความนิยมบริโภคถั่วเหลือง แหล่งโปรตีนจากพืชซึ่งปลอดภัยมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ และการบริโภคน้ำมันพืชมีกรดไขมันจำเป็น พบมากในน้ำมันมะกอก รำข้าว ทานตะวัน และน้ำมันงา โดยเฉพาะการได้รับวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันน้ำมันพืชเข้ามามีบทบาทต่อผู้รักสุขภาพอย่างขาดไม่ได้

เคล็ดไม่ลับ 5 วิธีการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

          การรู้จักเลือกรับประทานอาหารไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องสุขภาพเท่านั้น หากยังเอื้อต่อความสวยความงามอีกด้วย ความจริงการเลือกอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพดีได้ เพราะในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันในด้านพัฒนาการของร่างกายและลักษณะการดำเนินชีวิต วันนี้จึงขอเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกี่ยวข้องกับช่วงอายุทั้ง 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดที่คุณจะลองทำตาม

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 ช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาและเติบโตเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน และเป็นวัยที่ใช้ชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ยิ่งมีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันมากเท่าไร ร่างกายก็ยิ่งเผาผลาญและใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานจำพวกเนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ รวมถึงข้าวและแป้งมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยผักผลไม้เป็นอันดับสอง ส่วนนมและอาหารทดแทนแคลเซียมต่างๆ เช่น เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ตามมาเป็นอันดับสาม และให้ความสำคัญของไขมันเป็นอันดับสุดท้าย ปลาเป็นอาหารสมองที่ช่วยรักษาผนังเซลล์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ ผักสีเขียวอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงสายตา สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ผักผลไม้สีเหลืองอย่างกล้วยหอมก็ถือเป็นผลไม้คลายเครียดชนิดหนึ่ง

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 อายุขึ้นเลข 3 หลายคนเริ่มตกใจกลัว แต่การรู้จักเลือกรับประทานจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเดาอายุคุณจากรูปร่างหน้าตาได้เลย ในช่วงเริ่มวัยผู้ใหญ่ความต้องการพลังงานยังคงอยู่ เพราะเป็นช่วงชีวิตของการทำงาน แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องของไขมันและโคเลสเตอรอลที่จะส่งผลกระทบกับรูปร่างหน้าตาภายนอกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตด้วย เพราะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น เนยแข็ง กะทิ เนยเทียม เป็นต้น จะสร้างปัญหาให้หลอดเลือดและหัวใจ แต่คุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดไขมันและโคเลสเตอรอล เช่น ปลาทะเล ช่วยลดความดันโลหิต พวกถั่วเมล็ดแห้งอย่างถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และมีโปรตีนสูงเพื่อให้พลังงานแทนสัตว์ใหญ่ได้อีก อาหารจำพวกข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี อย่างข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท มีใยอาหารสูง ช่วยให้อิ่มท้องนานและส่งผลดีต่อระบบลำไส้

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 วัยทองถูกเรียกแทนวัย 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายวัยนี้ก็จะเริ่มมีโรคต่างๆที่ไม่เคยออกอาการ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น “วิถีทางธรรมชาติ” แต่ทั้งนี้การชะลอวัยหรือป้องกันโรคต่างๆที่มากับวัยไม่ได้ยุ่งยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ สำหรับช่วงวัยนี้ความต้องการพลังงานจะลดลง แต่ความต้องการแคลเซียมและวิตามินต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้รับจากผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง แล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีจากอาหารที่หารับประทานได้ง่าย เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ แคนตาลูป ส่วนอาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช เนยถั่ว ถั่วลิสง อัลมอนด์ นอกจากนี้ควรรับประทานเต้าหู้ โปรตีนไขมันต่ำ ซึ่งให้แคลเซียมมากกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่น แต่ไม่ควรลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวเร่งความแก่ให้เร็วขึ้น เช่น อาหารไขมันสูงประเภททอดกรอบหรือผัดน้ำมันมากๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มกาเฟอีนทั้งหลาย

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 50 เป็นต้นไปนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวัยนี้คุณควรเข้าใจการทำงานของร่างกายที่มีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง ช่วงนี้คุณอาจไม่รู้สึกกระหายน้ำเท่าไหร่ แต่ควรดื่มน้ำให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว เพื่อป้องกันการขาดน้ำโดยไม่รู้ตัว ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงและพยายามเลือกชนิดไม่ขัดสี เน้นอาหารจำพวกปลาเพื่อไม่ให้ขาดโปรตีน ที่สำคัญคือเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย

          วัยนี้จะพบปัญหากระดูกเปราะ กระดูกพรุนอย่างชัดเจน ดังนั้น ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ อาหารแคลเซียมสูงอยู่ในนม โยเกิร์ตชนิดครีม เนยแข็ง หรือแม้แต่ปลาตัวเล็กตัวน้อย พวกผักใบเขียวก็มี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบรอกโคลี จะช่วยลดปัญหาเรื่องกระดูกให้รุนแรงน้อยลง การแก้ไขภาวะขาดน้ำอาจให้ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย น้ำใบเตย นอกเหนือจากน้ำเปล่า เพราะช่วยบรรเทาโรคบางอย่างและให้ประโยชน์กว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

          สิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดควรดูแลเรื่องการกินอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่ก็ตาม เพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูแลตัวเองเมื่อพบว่าตัวเองมีโรคหรือมีปัญหาสุขภาพแล้วเท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มาก ทำบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย จะช่วยให้สุขภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ด้านระบบการไหลเวียนเลือด ควบคุมน้ำหนักตัว และลดความเครียดของร่างกายได้

ปัจจุบันคนไทยหันมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้นมีการเลือกรับประทานอาหาร มีการรณณรงค์เรื่องการสูบบุหรี การดื่มสุรา และการออกกำลังกาย จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าคนไทยและคนทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นมาก สาเหตุที่สำคัญเกิดจากความไม่สมดุลของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน โรคอ้วนและโรคมะเร็งบางชนิด เมื่อท่านได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดี สมาคมโภชนาการ สมาคมความดันโลหิตสูงได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการรับประทานอาหารซึ่งไม่เน้นเฉพาะพลังงานอย่างเดียว แต่จะเน้นเรื่องสารอาหาร และการออกกำลังกาย หัวข้อที่กล่าวมีดังนี้

คำแนะนำสำหรับกลุ่มต่างๆ

  1. อาหารที่รับประทานต้องมีพลังงานเพียงพอ และมีสารอาหารเพียงพอ

กลุ่มคนทั่วๆไป

  • รับประทานอาหารหลากหลายให้ครบห้าหมู่โดยหลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัว [Saturated fat],Tranfatty acid น้ำตาล เกลือ และสุรา
  • ปริมาณพลังงานที่ได้รับไม่ควรเกินค่าที่กำหนด

กลุ่มคนต่างๆ

  • ผู้ที่สูงอายุมากกว่า 50 ปีควรจะได้รับวิตามิน B12 เสริม
  • หญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ควรจะเสริมอาหารที่มีธาตุเหล็ก และอาหารที่มีวิตามินซีสูงเพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • หญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ควรจะเสริมอาหารที่มีกรดโฟลิก
  • ผู้สูงอายุที่มีผิวคล้ำหรือไม่ถูกแดดควรจะได้วิตามินดีเสริม

รายละเอียดอ่านที่นี่

  1. กลุ่มคนอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน

คำแนะนำ

  • การควบคุมน้ำหนักจะต้องรับประทานอาหารให้พลังงานที่ได้รับและใช้ไปเกิดความสมดุล
  • การลดน้ำหนักจะต้องค่อยลดพลังงานที่ได้รับจากอาหารโดยที่ไม่ขาดสารอาหาร และเพิ่มการออกกำลังกาย
  • สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินจะต้องปรึกษาแพทย์ดูแล ก่อนการจำกัดอาหาร
  • สำหรับคนท้องต้องควบคุมน้ำหนักอย่าให้เกิน
  • สำหรับคนทั่วไปที่มีโรคจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการควบคุมอาหาร

การจัดการเรื่องน้ำหนัก

ปัญหาเรื่องคนอ้วนหรือน้ำหนักเกินเป็นปัญหาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย นอกจากนั้นยังว่าว่าเด็กและเด็กวัยรุ่นมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรื้องรังต่างๆตามมา คนที่มีน้ำหนักเกินมักจะเกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่มากเกินไป และพฤติกรรมในการออกกำลังกายน้อยเกินไป ลำพังการลดปริมาณวันละ 100 กิโลแคลอรีก็จะป้องกันน้ำหนักเพิ่ม หรือลดปริมาณลงวันละ 500 กิโลแคลอรีก็จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ แต่การลดน้ำหนักโดยให้ลดอาหารเป็นเรื่องยากจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใส่น้ำตาล หรือการรับประทานอาหารมัน หรือเครื่องดื่ม คำแนะนำสำหรับการลดน้ำหนัก

  • การรักษาน้ำหนักให้ดีต้องปรับพลังงานที่ได้จากอาหารที่รับประทาน ให้สมดุลกับพลังงานที่เราใช้(น้ำหนักเท่าเดิม)
  • การป้องกันน้ำหนักเกินทำได้โดยการลดปริมาณอาหาร ลดน้ำตาล และเพิ่มการออกกำลังกาย

คำแนะนำสำหรับคนอ้วนแต่ละกลุ่ม

  • สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องลดอาารที่มีแคลรี่ต่ำ

สำหรับเรื่องพลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมให้อ่านที่นี่

สำหรับดัชนีมวลการคำนวนได้จากที่นี่ หรือเปิดดูจากตารางที่นี่

เรื่องโรคอ้วนอ่านที่นี่

  1. การออกกำลังกาย

ส่งเสริมให้มีกิจกรรมให้มาก อย่านั่งๆนอนๆจะทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ และการควบคุมน้ำหนักดีขึ้น

  • สำหรับผู้ใหญ่ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานปานกลาง มากกว่าปกติวันละ 30 นาทีทุกวันไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือที่บ้าน เช่นการถูบ้าน การเดินขึ้นบันได การเดินเร็วๆไปจ่ายตลาด
  • ถ้าต้องการให้สุขภาพแข็งแรงให้ออกกำลังกายชนิดหนัก หรือออกกำลังกายนานขึ้น
  • ถ้าต้องการควบคุมน้ำหนักหรือป้องกันน้ำหนักเพิ่มต้องออกกำลังกายชนิดปานกลาง หรือชนิดหนักวันละ 60 นาทีทุกวัน โดยที่รับประทานอาหารที่มีพลังงานเท่าเดิม
  • ถ้าต้องการลดน้ำหนักลดน้ำหนักต้องออกกำลังกายปานกลางถึงหนักวันละ 60-90 นาทีโดยที่รับประทานอาหารที่ให้พลังงานไม่เกิน

ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงโดยการ ออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็ง ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดี ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายมีความอดทน

การออกกำลังสำหรับกลุ่มต่างๆ

  • เด็กและวัยรุ่นให้ออกกำลังกายวันละ 60 นาทีทุกวัน
  • ในคนท้องที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกายให้ออกกำลังปานกลางวันละ 30นาทีทุกวัน แต่ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่จะเกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์
  • ผู้สูงอายุต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการเสื่อมของอวัยวะ

ข้อเท็จจริงบางประการ

  • ปี 2002ร้อยละ 25 ของประกรของอเมริกาไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ปี2003 ร้อยละ 38 ของประชากรวัยรุ่นใช้เวลาดูทีวีวันละ 3 ชั่วโมง
  • การออกกำลังกายชนิดหนักจะให้ผลดีต่อสุขภาพดีกว่าชนิดปานกลาง และใช้พลังงานมากว่า
  • การออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมอาหารทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราคนที่ออกกำลังกายสามารถรับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้น
  • ต้องป้องกันร่างกายขาดน้ำโดยการดื่มอย่างเพียงพอ หรือดื่มขณะออกกำลังกาย หรือหลังการออกกำลังกาย
  • ให้มีการออกกำลังกายอย่างสมำเสมอ ลดการนอนหรือดูทีวีซึ่งจะทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
    • เพื่อป้องกันหรือลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ให้ออกกกำลังกายปานกลางวันละ 30 นาที หรือกิจกรรมประจำวัน
    • หากออกกกำลังกายหนักเพิ่มขึ้น(ชนิดหนัก)ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพ
    • หากต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มต้องออกกำลังกายชนิดปานกลางวันละ 60 นาทีทุกวัน
    • หากต้องการลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องต้องออกกำลังกายชนิดปานกลาง-หนักวันละ 60-90 นาที

คำแนะนำ

  • เด็กและวันรุ่นต้องออกกำลังกายวันละ 60 นาทีทุกวัน
  • คนท้องหากไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกายให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ 30 นาทีทุกวัน แต่ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการหกล้ม
  • คนให้นมบุตร ต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายอาจจะทำให้น้ำนมลดลง
  • คนสูงอายุ การออกกำลังสำหรับผู้สูงอายุจะทำให้สุขภาพดี ลดการเสื่อมของอวัยวะ คลิกอ่านที่นี่ แต่ผู้สูงอายุบางท่านต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย อ่านที่นี่

การออกกำลังกายอ่านที่นี่

  1. คำแนะนำชนิดของอาหาร
  • รับประทานผักและผลไม้ให้มาก โดยรับประทานน้ำผลไม้วันละ 2 แก้ว ผักวันละ 2 ถ้วย
  • ให้มีการรับประทานผัก และผลไม้ที่หลากหลายสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา
  • ให้รับประทานธัญพืชวันละกำมือ เช่นถั่วต่าง เม็ดทานตะวัน เม็ดแตงโม
  • ให้รับประทานนมพร่องมันเนย หรือผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยวันละ 3 ถ้วย

คำแนะนำอาหารสำหรับเด็ก

  • เด็กและวัยรุ่นต้องรับประทานธัญพืชบ่อยๆ เด็กอายุ 2-8ขวบควรจะดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 2 แก้ว เด็กมากกว่า 9 ขวบควรดื่ม 3 แก้ว

กลุ่มอาหาร

  • เลือกรับประทานผักและผลไม้อย่างเพียงพอโดยพลังงานที่ได้รับต้องไม่เกินเกณฑ์ตัวอย่างคนที่ได้รับพลังงาน 2000 กิโลแคลรอรีจะรับผลไม้ได้ไม่เกิน ผัก 21/2ถ้วยหรือนำผลไม้ไม่เกิน 2 ถ้วย
  • ให้เลือกผักและผลไม้ทั้ง 5 กลุ่มสับไปมา
  • ให้รับประทานส่วนประกอบของธัญพืช หรือเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว อย่างน้อยวันละ 3 ส่วน
  • ดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 3 ถ้วย

กลุ่มผักและผลไม้

  • ผลและผลไม้เป็นแหล่งให้สารอาหารแก่ร่างกายเป็นจำนวนมากตามตารางข้างล่าง
  • การรับประทานผักและผลไม้จะทำให้ร่างกายได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอ
  • ผลและผลไม้แต่ละชนิดจะให้คุณค่าทางอาหารแตกต่างกันไป ดังนั้นต้องสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละอาทิตย์ แบ่งผักออกเป็น 5 ชนิดและปริมาณที่ควรจะรับประทานในแต่ละสัปดาห์
    • ผักใบเขียว 3ถ้วยต่อสัปดาห์
    • ผักใบเหลือง 2 ถ้วยต่อสัปดาห์
    • ถั่ว 3 ถั่วต่อสัปดาห์
    • ผักพวกใหแป้ง(ผักพวกหัว) 3 ถั่วต่อสัปดาห์
    • ผักอื่นๆ 6 1/2 ต่อสัปดาห์

ธัญพืชครบส่วน Whole grain

ธัญพืชครบส่วนเป็นแหล่งที่ให้ใยอาหารและสารอาหาร ปกติเมล็ดพืช จะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เปลือก รำ ส่วนแพร่พันธ์ และอาหารสำหรับเลี้ยงส่วนแพร่พันธ์ เมื่อเรากระเทาะเอาเปลือกออกก็จะเหลือธัญพืชครบส่วน(ซึ่งประกอบด้วย รำ ส่วนแพร่พันธ์ และอาหาร) หากเรานำไปขัดก็จะสูญเสียสารอาหารที่สำคัญ vitamins, minerals, lignans, phytoestrogens, phenolic compounds, and phytic acid. ธัญพืชที่ผ่านการขัดบางชนิดจะมีการเติมวิตามินบางชนิดก่อนขาย แนะนำว่าควรจะรับอาหารธัญพืขครบส่วนอย่างน้อยวันละ 3 ออนซ์ ตัวอย่างสำหรับแป้งที่ทำจากธัญพืช

  1. คำแนะนำสำหรับอาหารไขมัน
  2. คำแนะนำสำหรับอาหารจำพวกแป้ง
  3. การรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ
  4. คำแนะนำเรื่องการดื่มสุรา
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว saturated fat ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับหรือไม่เกินวันละ 300 กรัมของคลอเลสสเตอรอลล์ และหลีกเลี่ยงไขมันชนิด trans fatty acid
  • ปริมาณพลังงานที่ได้จากไขมันต้องไม่เกิน 30%ของปริมาณทั้งหมด และควรจะเป็นพวกไขมันไม่อิ่มตัวpolyunsaturated
    and monounsaturated fatty acids จากพืชและถั่ว
  • เมื่อจะรับประทานเนื้อสัตว์ต้องเลือกเนื้อที่มีไขมันต่ำ เช่นเนื้อสันใน หรือแกะเอาหนังและไขมันทิ้ง
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมัน trans fatty
  • สำหรับเด็กเล็กอายุ 2-3 ขวบให้รับประทานไขมันได้ถึงร้อยละ 30-35 สำหรับเด็กอายุ 4-18 ปีให้รับประทานอาหารไขมันได้ถึงร้อยละ 25-35 และแหล่งไขมันควรจะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว polyunsaturated and monounsaturated
    fatty acids,เช่น ปลา ถั่ว และน้ำมันพืช
  • รับประทานอาหารพวกแป้งที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ผักและผลไม้
  • การปรุงอาหารไม่ไส่เกลือหรือน้ำตาลมากเกินไป
  • ป้องกันฟันผุโดยการลดน้ำตาลและเครื่องดื่ม
  • สำหรับคนทั่วไปให้รับประทานอาหารที่มีเกลือน้อยกว่า 2300 มิลิกรัม(ประมาณ 1 ช้อนชา)
  • เวลาปรุงอาหารให้ใส่เกลือให้น้อยที่สุด
  • สำหรับคนที่เสี่ยงต่อโรคความดํนโลหิตสูง(คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อ้วน ผิวดำ โรคเบาหวาน)ต้องรับประทานเกลือเพียง 1500มิลิกรัม และรับประทานเกลือโปแตสเซียมวันละ 4700 มิลิกรัม
  • สำหรับผู้ที่ต้องการดื่มสุราใหดื่มได้ไม่เกิน 1และ 2 หน่วยสุราสำหรับหญิงและชาย
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจไม่ควรดื่มสุรา
  • ผู้ที่ไม่สามารถจะจำกัดการดื่มสุรา หญิงตั้งท้อง หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เด็ก วัยรุ่น หรือผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำไม่ควรจะดื่มสุรา

รายละเอียดอ่านที่นี่

  1. คำแนะนำเรืองการรับประทานอาหารอย่างปลอดภัย
  • ล้างมือ อาหาร ผลไม้ทุกครั้ง
  • เวลาไปวื้อาหาร ให้แยกอาหารที่พร้อมรับประทานออกจากอาหารสด
  • ปรุงอาหารให้สุก
  • อาหารที่แช่เย็นหรือแช่แข็งต้องทำละลายก่อนไปปรุงอาหาร
  • หลีกเลียงอาหารสุกๆดิบๆ นมที่ไม่ได้มีการฆ่าเชื้อโรค ไข่ดิบ

แนวทางการรับประทานอาหารร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคต่าง

หากใช้เกณฑ์การรับประทานอาหารใหม่จะต้องปรับอาหารอย่างไร ปริมาณวิตามินที่ควรจะรับประทานในแต่ละอายุ

เกณฑ์อาหารสุขภาพใหม่ของอเมริกาเพิ่งจะประกาศ การทำเกณฑ์ใหม่จะอาศัยของมูลทางวิชาการซึ่งมีหลักฐานสนับสนุน เกณฑ์ใหม่นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ และจะลงรายละเอียดถึงปริมาณสารอาหารรวมทั้งเกลือแร่ มีการศึกษาพบว่าลำพังการรับประทานอาหารให้ถูกต้องจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 16 และ9สำหรับชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปีการเปลี่ยงแปลงมีดังนี้

  • ปริมาณผลไม้จะต้องมีการเพิ่มปริมาณที่รับประทานอีกร้อละ 100-150 เพิ่ม .8-1.2 ถ้วยตวง
  • ต้องมีการเพิ่มปริมาณผักอีกร้อยละ 50 เพิ่ม0.9 ถ้วยตวง
  • ต้องดื่มนมเพิ่มอีกร้อยละ 50-100 เพิ่ม 1.2-1.6 ถ้วงตวง
  • เนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ10 เนื้อสัตว์ลดลง 1.4 oz
  • ลดอาหารไขมันลงร้อยละ10 ลดลง 4.2 กรัม
  • เพิ่มผักใบเขียวประมาณ ครึ่งถ้วยตวง
  • เพิ่มส้ม 0.2 ถ้วงตวง
  • เพิ่มอาหารจำพวกถั่ว 0.3 ถั่วตวง
  • เพิ่มธัญพืช 2.2 oz
  • ลดไขมัน 18-27 กรัม
  • ลดน้ำตาล 14-18 ช้อนชา

Leave a comment »

หลอดเลือดสมองตีบ

‘หลอดเลือดสมองตีบ’

หากจะเอ่ยถึงโรคภัยไข้เจ็บที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัย นอกจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และอีกสารพัดที่พึงต้องเพิ่มความระมัดระวังกันเป็นพิเศษแล้ว “โรคหลอดเลือดสมอง” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่นำมาซึ่งผลกระทบต่อจิตใจ และยากนักที่จะเยียวยารักษาให้หายได้ดีดังเดิม
 

ในภาวะปัจจุบัน โรคหลอดเลือดสมองกำลังเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ จากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และอันดับ 3 ของผู้ชายไทย ขณะเดียวกันผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจมีความพิการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตเกิดขึ้นด้วยไม่มากก็น้อย
 ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะในรายที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ที่ต้องกลายเป็นคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เคลื่อนไหวลำบาก จนส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลง แถมยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับคนในครอบครัวที่จะต้องมาคอยดูแล ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงได้จัด “โครงการ สร้างเสริมความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองตีบ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์   พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา” ขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ รศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ประธานโครงการฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ พร้อมทั้ง ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองตีบว่า
 การจัดโครงการสร้างเสริมความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบฯ นี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุ ประสงค์หลักเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านโรคหลอด เลือดสมอง พร้อมวิธีดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย และครอบครัวได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ปิดท้ายด้วยการจัดตั้งชมรมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้น และเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่เนื้อสมองขาดเลือดมาเลี้ยงอย่างทันทีทันใด ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลายหรือตายลงในที่สุด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดถึง  80% และโรคหลอดเลือดสมองแตก พบได้เพียง 20% จากสถิติของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่รับไว้ในโรงพยาบาลปีละมากกว่า 500 ราย  
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ควรจะต้องรักษาโดยเร็วที่สุดจึงจะได้ผลดีที่สุด ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ การรักษาจะได้ผลดีถ้าได้รับยาภายใน 3 ชั่วโมงแรก การให้ยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือด สามารถช่วยลดอัตราการตายและความพิการของผู้ป่วยได้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จึงได้มีการจัดตั้งโครงการ Stroke fast track ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยให้การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเฉียบพลัน นับเป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศ ไทยที่มีการจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างมีระบบ และต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาเกือบ 10 ปี

โรคหลอดเลือดสมองตีบ แม้จะกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญ แต่หากต้องการหลีกเลี่ยงก็มีวิธีการมากมายที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น การควบคุมความดันโลหิต ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยเร็วหากสังเกตพบว่า มีภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ทานผักผลไม้เป็นประจำ และที่สำคัญออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
แค่นี้…ก็เรียกได้ว่า ห่างไกลโรคหลอดเลือดสมองตีบ หลีกหนีความพิการไปได้แล้ว กว่าครึ่ง.

Leave a comment »